ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom)


การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพในรายวิชาภาษาอังกฤษ (สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม) ด้วย ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-3) 

บทคัดย่อ
          บทความนี้ศึกษาเกี่ยวกับที่มาและความสำคัญของนโยบาย ประเทศไทย 4.0 ในส่วนของความเชื่อมโยงกับการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพในรายวิชาภาษาอังกฤษ
(สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม) ด้วย ห้องเรียนกลับด้าน สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-3) การศึกษาอาศัยข้อมูลจากการสำรวจ สืบค้น และอ้างอิงข้อมูลจากงานวิจัยจากหลายๆชิ้น ที่ได้กล่าวถึงการศึกษาไทย 4.0 บทความนี้ยังกล่าวถึงแนวคิดในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพในรายวิชาภาษาอังกฤษ (สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม) ด้วย ห้องเรียนกลับด้าน สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-3)เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และการพัฒนาที่เต็มประสิทธิภาพ โดยการนำเอาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนหลักในห้องเรียน
          แนวคิดในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพในรายวิชาภาษาอังกฤษ (สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม) ด้วย ห้องเรียนกลับด้าน สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-3)นี้ เกิดขึ้นจากการระดมความคิด และการออกแบบหลักสูตร แผนการจัดการเรียนการสอน รวมถึงสื่อการเรียนการสอนที่แตกต่างอย่างสร้างสรรค์ เพื่อเป็นการจุดประกายความคิดของผู้สอน ให้ได้นำแนวคิดในความนี้ไปประยุกต์ใช้ และปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนของตนเอง โดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนสำคัญในการดำเนินการเรียนการสอนในแต่ละวัน เพื่อให้ทั้งผู้สอน และผู้เรียน ได้เกิดความคุ้นเคยกับการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ และเกิดความคิดที่แปลกใหม่ เพื่อเป็นพื้นฐานให้กับผู้เรียน และผู้สอนได้นำไปใช้ต่อยอดในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อใช้การจัดการเรียนการสอนในอนาคตต่อไป

บทนำ
  ในทุกยุคทุกสมัยการศึกษาถือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนไทยมาเนิ่นนานนับตั้งแต่อดีตกาลจนมาถึงยุคปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการศึกษามากขึ้น ส่งผลให้การจัดการเรียนรู้ของครูอาจารย์เปลี่ยนไปมากมาย ดังคำที่อาจเคยได้ยินกันทั่วไปว่า ความรู้ไม่ได้มีแค่ในหนังสืออีกต่อไป เพราะยุคปัจจุบันความรู้มีอยู่มากมายรอบตัวเรา ดังนั้นการจัดการเรียนรู้ของครูอาจารย์ในปัจจุบันจึงได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากจากอดีตกาลที่ผู้หญิงจะต้องเรียนเกี่ยวกับงานบ้านงานเรือนการร้อยพวงมาลัยการทำอาหารและการเป็นศรีภรรยาที่ดี ส่วนผู้ชายในสมัยอดีตกาล จะบวชเรียนที่เพราะวัดเป็นที่รวมสรรพวิชา ในอดีตใครผ่านการบวชเรียนก็จะถือเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม ว่าเป็นผู้ที่มีวิชาความรู้มีความสามารถ และสามารถเข้ารับราชการได้ ดังนั้นคนโบราณจึงนิยมที่จะบวชเรียน การเรียนการสอนในสมัยก่อนเป็นการฝึก การอ่านออก เขียนได้ เรียนรู้พื้นฐานคณิตศาสตร์ บวก ลบ คูณ หาร การคัดลายมือ ศิลปะเฉพาะด้านเช่นช่างฝีมือ ช่างแกะสลัก การศึกษาในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมาก เนื่องจากประเทศไทยรับเอาภาษาและวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามามากมายทำให้เนื้อหาการเรียนมีความซับซ้อนมากขึ้น และในปัจจุบันนักเรียนไทยต้องเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมของต่างชาติ เพื่อให้สามารถก้าวทันโลกได้และที่สำคัญที่สุดคือปัจจุบันสังคมโลกและสังคมไทยกําลังก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่21 อันเป็นยุคที่มีความสลับซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทําให้การศึกษาของไทยถึงเวลาปรับเปลี่ยนอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้การศึกษาสามารถสร้างผลผลิตได้สอดคล้องกับความต้องการของสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ   การจัดการเรียนการสอนในยุค 4.0   หากมัวแต่รอคอยโอกาสให้ความรู้เข้ามาหาเอง เราคงตามไม่ทันคนอื่น ยิ่งโลกหมุนเร็วเท่าไหร่ การแข่งขันย่อมสูงขึ้นเท่านั้น ดังนั้นในยุุคนี้จึงมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสอน และการค้นคว้าหาข้อมูล ซึ่งในปัจจุบันการค้นคว้าหาข้อมูลนั้นง่ายมาก เพราะมีเว็ปไซต์มากมายเกิดขึ้นไม่หยุดทั้งของไทยและต่างชาติ
พูดได้ว่าเทคโนโลยีสามารถตอบโจทย์คำถามการศึกษาในยุคนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เช่นเดียวกับการเรียนในสาระที่2ภาษากับวัฒนธรรม ซึ่งภาษากับวัฒนธรรมเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ ในอดีตภาษากับวัฒนธรรมต่างชาติอาจไม่ได้เข้ามามากเท่าในยุคปัจจุบันนี้ ดังนั้นในยุคนี้จึงจำเป็นเรียนเกี่ยวกับภาษากับวัฒนธรรมต่างชาติให้มากที่สุด  ซึ่งภาษากับวัฒนธรรมมีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกัน ดังนี้  ภาษาเป็นสิ่งที่ถ่ายทอดวัฒนธรรมให้ดำรงอยู่ในสังคมต่อไปมิให้สูญหาย ภาษาสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของชนในชาติ  ภาษาเป็นเครื่องมือถ่ายทอดวัฒนธรรม ภาษาเป็นเอกลักษณ์ของชาติที่ทำให้คนในชาตินึกถึงความเป็นชาติเดียวกัน  เป็นพวกเดียวกัน
ภาษากับวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เช่นเดียวกับเทศกาลสำคัญต่างๆ ทั้งของไทยและต่างชาติ ซึ่งทุกเทศกาลล้วนแต่มีความสำคัญและมีเรื่องราวที่ทำให้เกิดเทศกาลเหล่านั้นทั้งสิ้น เทศกาลต่างๆล้วนมีความหมายซ้อนอยู่ในตัว มีความลับและเกร็ดความรู้ดีๆที่ซ้อนอยู่และรอคอยเวลาให้คนได้เข้ามาเรียนรู้มันเอง
วัตถุประสงค์ในการเรียนรู้เกี่ยวกับเทศกาลสำคัญต่างๆ
1.เรียนรู้ประวัติความเป็นมาของเทศกาล
2. เรียนรู้ความสำคัญของการกำเนิดเทศกาล
3.เรียนรู้การปฏิบัติตนในเทศกาลนั้นๆ รวมถึงวัน เดือน ที่มีการจัดเทศกาลนั้นและสถานที่ที่มีการจัด  เทศกาลนั้น
4.เรียนรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลนั้น
5.เรียนรู้เกี่ยวกับการทำกิจกรรมโดยการใช้สื่อเทคโนโลยี
ขอบเขตของการศึกษา
เราจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพในรายวิชาภาษาอังกฤษ (สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม) ด้วยห้องเรียน Flipped Classroom ประชากรที่ใช้ศึกษา คือ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ หมู่เรียนที่1 จำนวน1ห้อง เป็นจำนวน 20คน ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ดำเนินการในภาคเรียนที่1ปีการศึกษา 2560 ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม ถึง 10 กันยายน 2560 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นายสหรัฐ ลักษณะสุต ร่วมบันทึกเทปถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

Culture and Types of Nonverbal Communication

นายสหรัฐ ลักษณะสุต เข้าร่วมการประชุมระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเข้ารับเกียรติบัตรจากกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐเกาหลี