บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2018

ภาษาศาสตร์ : การแปลเพลง

สรุปความรู้ เรื่อง การแปลความหมายจากบทเพลง จากการศึกษา และฝึกการแปลเพลงทั้งเพลงสากลและเพลงไทย พบปัญหารวมถึงแนวทางการแก้ไขปัญหา และลักษณะเฉพาะของการใช้ภาษาในบทเพลงที่หลากหลาย เพื่อความเข้าใจง่าย ในที่นี้จะขอกล่าวโดยแยกเป็นประเด็น รวมทั้งสิ้น 2 ประเด็นรายละเอียดดังต่อไปนี้ ประเด็นที่ 1 : ปัญหาที่พบในการแปลเพลง ปัญหาที่พบในการแปลเพลง ที่สำคัญและพบอยู่บ่อยครั้งคือ การแปลเพลง (ทั้งจากภาษาไทย เป็นภาษาอังกฤษ และ จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย) ที่ทำให้ ความหมายผิดแปลก หรือคลาดเคลื่อนไปจากต้นฉบับ  ซึ่งปัญหาในเชิงความหมายที่ผิดเพี้ยนดังกล่าวมีสาเหตุดังต่อไปนี้ คำศัพท์แต่ละคำมีความหมายที่หลากหลาย  เป็นที่ทราบกันดีว่าคำศัพท์ทั้งในภาษาไทย และภาษาอังกฤษ หากนำมาแปลความหมายแล้วจะพบว่า แต่ละคำศัพท์ส่วนมากจะมีความหมายมากกว่า 1 ความหมาย อาทิ  “Love” อาจหมายถึง “พิศวาส” หรือ “ชอบพอ” ซึ่งความหมายในภาษาไทยทั้งสองข้างต้น ดูเหมือนจะมีความหมายใกล้เคียง ทว่าหากพิจารณาถึงความหมายที่แท้จริงแล้ว จะพบว่าทั้งสองคำยังมีความแตกต่างกัน  ซึ่งความหลากหลายในเชิงความหมายของคำศัพท์แต่ละคำนี้เอง ห...

Culture and Types of Nonverbal Communication

Culture and Types of Nonverbal Communication Paralanguage (ปริภาษา) หรือ Vocalics ค ือ เสียงที่เปลงออกมาเพื่อประกอบบทสนทนา ได้แก่ความค่อยและความดังของเสียง จากผลการวิจัยยืนยันว่าการพูดเสียงดังและกระแทกเสียง แสดงถึงความก้าวร้าว การต่อต้าน การขัดแย้ง และการไม่มีสัมมาคารวะ โดยเฉพาะถ้าผู้น้อยพูดกับผู้ใหญ่ นอกจากนั้น ความค่อยความดัง และจังหวะ ตลอดจนลีลาในการพูดยังแสดงถึงระดับอารมณ์ของผู้พูดด้วย เช่น เมื่อโกรธอาจจะพูดเสียงดังหรือพูด ด้วยเสียงที่เบาหรือแสดงอาการนิ่งเฉยชั่วขณะ Kinesics (อาการภาษา) หรือ Body language หมายถึง การเคลื่อนไหวของร่างกายหรือภาษาร่างกาย หมายถึง อวัจนภาษาที่อยู่ ในรูปของการเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อสื่อสาร อันได้แก่ การเคลื่อนไหวศีรษะ แขน ขา และลำตัว เช่น การก้มศีรษะ การชี้นิ้ว การหมอบคลาน Proxemics (เทศภาษา) ช่องว่างระหว่างบุคคล หรือ Personal Space หรือ Social distance หมายถึง ภาษาที่สื่อความหมาย ปรากฏขึ้นจากลักษณะของสถานที่ที่บุคคลทำการสื่อสารกันอยู่ รวมทั้งช่องว่างระยะห่างที่บุคคล ทำการสื่อสารกันอยู่ ทั้งสถานที่และช่วงระยะจะแสดงให้เห็นควา...

SSRU Dummy Company (บริษัทจำลอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา)

รูปภาพ

ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ (จิตวิทยาการศึกษา)

ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ ฟรอยด์ ( Freud, 1856-1939) เป็นชาวออสเตรีย เป็นคนแรกที่เห็นความสำคัญของพัฒนาการในวัยเด็ก ถือว่าเป็นรากฐานของ พัฒนาการของบุคลิกภาพ ตอนวัยผู้ใหญ่ สนับสนุนคำกล่าวของนักกวี Wordsworth ที่ว่า " The child is father of the man” และมีความเชื่อว่า 5 ปีแรกของชีวิตมีความสำคัญมาก เป็นระยะวิกฤติของพัฒนาการ ของชีวิตบุคลิกภาพของผู้ใหญ่ มักจะเป็นผลรวมของ 5 ปีแรก ฟรอยด์เชื่อว่า บุคลิกภาพของผู้ใหญ่ ที่แตกต่างกัน ก็เนื่องจากประสบการณ์ของแต่ละคน เมื่อเวลาอยู่ในวัยเด็ก และขึ้นอยู่กับว่าเด็กแต่ละคน แก้ปัญหาของความขัดแย้งของแต่ละวัยอย่างไร ทฤษฎีของฟรอยด์มีอิทธิพลทางการ รักษาคนไข้โรคจิต วิธีการนี้เรียกว่า จิตวิเคราะห์ ( Psychoanalysis) โดยให้คนไข้ระบายปัญหาให้จิตแพทย์ฟัง ทฤษฎีของฟรอยด์อาจจะกล่าวหลักโดยย่อดังต่อไปนี้ ฟรอยด์ได้แบ่งจิตของมนุษย์ออกเป็น 3 ระดับ คือ 1.        จิตสำนึก ( Conscious) 2.        จิตก่อนสำนึก ( Pre-conscious) 3.        จิตไร้สำนึก ( Unconscious) ...