Culture and Types of Nonverbal Communication



Culture and Types of Nonverbal Communication


Paralanguage (ปริภาษา)
หรือ Vocalicsือ เสียงที่เปลงออกมาเพื่อประกอบบทสนทนา ได้แก่ความค่อยและความดังของเสียง
จากผลการวิจัยยืนยันว่าการพูดเสียงดังและกระแทกเสียง แสดงถึงความก้าวร้าว การต่อต้าน การขัดแย้ง
และการไม่มีสัมมาคารวะ โดยเฉพาะถ้าผู้น้อยพูดกับผู้ใหญ่ นอกจากนั้น ความค่อยความดัง และจังหวะ
ตลอดจนลีลาในการพูดยังแสดงถึงระดับอารมณ์ของผู้พูดด้วย เช่น เมื่อโกรธอาจจะพูดเสียงดังหรือพูด
ด้วยเสียงที่เบาหรือแสดงอาการนิ่งเฉยชั่วขณะ
Kinesics (อาการภาษา)
หรือ Body language หมายถึง การเคลื่อนไหวของร่างกายหรือภาษาร่างกาย หมายถึง อวัจนภาษาที่อยู่
ในรูปของการเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อสื่อสาร อันได้แก่ การเคลื่อนไหวศีรษะ แขน ขา และลำตัว เช่น
การก้มศีรษะ การชี้นิ้ว การหมอบคลาน
Proxemics (เทศภาษา)
ช่องว่างระหว่างบุคคล หรือ Personal Space หรือ Social distance หมายถึง ภาษาที่สื่อความหมาย
ปรากฏขึ้นจากลักษณะของสถานที่ที่บุคคลทำการสื่อสารกันอยู่ รวมทั้งช่องว่างระยะห่างที่บุคคล
ทำการสื่อสารกันอยู่ ทั้งสถานที่และช่วงระยะจะแสดงให้เห็นความหมายบางประการที่อยู่ในจิต
สำนึกของบุคคลผู้กำลังสื่อสารนั้นได้ เช่น การห้ามคนคุยกันเสียงดังหรือเล่นกันในห้องสมุด เพราะ
เป็นการรบกวนผู้อื่น หรือการที่หญิงสาวไม่ต้อนรับเพื่อนชายในที่ลับตาคน
ได้แก่การรักษาระยะห่างจากจุดที่ตนเองยืนหรือนั่งคุยกับบุคคลอื่น เช่น ถ้าบุคคลรักกัน ชอบกันหรือ
สนิทสนมกันก็ชอบที่จะยืนหรือนั่งใกล้กันมากที่สุด ในทางตรงข้ามถ้าบุคคลไม่ชอบกัน  ก็จะพยายาม
หลีกหนีให้ไกล ความสัมพันธ์ที่มีความเป็นสวนตัวมากๆระยะห่าง 0-18 นิ้ว - ความสัมพันธ์กับ
บุคคลต่าง ๆ ระยะห่าง 1.5-4 ฟุต - ความสัมพันธ์ทางสังคมที่มีลักษณะเป็นทางการ ระยะห่าง 4-12 ฟุต
- ความสัมพันธ์กับสาธารณชน ระยะห่าง 12-25
Oculesics (เนตรภาษา)
หรือ Eye contact or movement หมายถึง อวัจนภาษาที่เกิดจากการแสดงออกทางดวงตาหรือสายตา
เพื่อสื่ออารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด ความประสงค์และทัศนคติบางประการในตัวผู้ส่งสาร ได้แก่ การมอง
การสบตา การหลบสายตา หรือการจ้องมอง เพราะว่าดวงตาหรือสายตาเปรียบเสมือนหน้าต่างของ
หัวใจ เมื่อบุคคลมีความรู้สึกสนใจอะไรก็ตาม จะส่งผลกระทบไปที่สายตา โดยการมอง จ้องมอง
สบตา หลบสายตา อาจจะทำตาเขียวหรือทำตาขวางก็ได้ โดยปกติถ้าบุคคลจะเป็นมิตรต่อกัน มักจ
ะมองตากันหรือสบตากัน แต่ถ้าจะเป็นศัตรูกันหรืออาจมีความผิดปกติเกิดขึ้น มักจะไม่มองตากัน
หรือไม่ยอมสบตากัน
Haptics (สัมผัสภาษา)
หรือ touch หมายถึง การใช้อาการสัมผัสเพื่อสื่อสารความรู้สึกและอารมณ์ตลอดจนความปรารถนา
ที่ฝังลึกอยู่ในใจของผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร เช่น การจับมือ การคล้องแขน การโอบกอด ซึ่งการสื่อ
ความหมายด้วยสัมผัสภาษานี้จะเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมของแต่ละสังคมด้วย เช่น คนไทยจะไม่สัมผัส
ส่วนศีรษะของผู้อื่น เพราะถือว่าเป็นการแสดงความไม่เคารพต่อผู้นั้น
Olfactics (กลิ่น)
หรือ smell หมายถึง การสื่อสารที่เกิดจากการใช้กลิ่น บ่อยครั้ง กลิ่นสามารถทำให้เรามีความจำใน
เรื่องใดเรื่องหนึ่งนานกว่าปกติ จากการศึกษาพบว่ามนุษย์สามารถจดจำความทรงจำผ่านกลิ่น ได้ดี
กว่าความทรงจำที่ได้จากการพูดคุยทั่วไป เช่น กลิ่นน้ำหมอ ทำให้คิดถึงแฟนเก่า  กลิ่นกาแฟ ทำให้
คิดถึงความสะดวกสบาย เป็นต้น
Physical appearance and artifacts (ภาพลักษณ์)
หมายถึง การใช้รูปร่างลักษระภายนอก เช่น เสื้อผ้า การแต่งกาย การแต่งหน้า เพื่อสื่อสารความรู้สึก
และอารมณ์   บ่อยครั้งรูปลักษณ์ หรือภาพลักษณ์ภายนอกมีส่วนสำคัญต่อการสื่อสารของบุคคล
เพราะหากภาพลักษณ์ภายนอกดี ก็อาจจะส่งผลให้การสื่อสารประสบความสำเร็จมากขึ้น
Chonemics (กาลภาษา)
หรือ time หมายถึง การสื่อสารที่เกิดจากการใช้เวลาและช่วงเวลา เพื่อแสดงเจตนาของผู้ส่งสารที่
จะก่อให้เกิดความหมายเป็นพิเศษแก่ผู้รับสาร เช่น การเยี่ยมผู้ป่วยในเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้ป่วย
ได้พักผ่อน


สหรัฐ ลักษณะสุต (Saharat Laksanasut)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นายสหรัฐ ลักษณะสุต ร่วมบันทึกเทปถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

นายสหรัฐ ลักษณะสุต เข้าร่วมการประชุมระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเข้ารับเกียรติบัตรจากกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐเกาหลี