ALLRIGHTS HRDD Application นวัตกรรมการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน
สุดยอด! นวัตกรรมฝีมือเยาวชนไทย
"ALLRIGHTS HRDD Application นวัตกรรมตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน"
ทำความรู้จักกับ ALLRIGHTS HRDD Application
...............ALLRIGHTS HRDD Application คือ นวัตกรรมการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านที่คิดค้นและสร้างสรรค์โดย นายสหรัฐ ลักษณะสุต นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นนวัตกรรมที่คว้า รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ระดับประเทศ การประกวดสร้างสรรค์นวัตกรรมขับเคลื่อนประเด็นสิทธิมนุษยชนกับภาคธุรกิจโดยกระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และได้รับเชิญให้นำเสนอนวัตกรรมในเวทีการประชุม Business and Human Rights Forum ณ สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ (UNOHCHR) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์)
การตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (HRDD) คืออะไร?
หลักการตรวจสอบและประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Due Diligence-HRDD) ได้รับการระบุไว้ในหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Guiding Principles on Business and Human Rights) หลักการชี้แนะเป็นกรอบสำหรับรัฐ เพื่อควบคุมให้ภาคเอกชนเคารพสิทธิมนุษยชนด้วยการจัดทำ ‘พิมพ์เขียว’ สำหรับบริษัทต่างๆ เพื่อเป็นมาตรฐานสากลในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และเสนอแนวทางในการจัดการความเสี่ยงในการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยได้รับการสนับสนุนจากภาคธุรกิจ และประชาสังคมเช่นเดียวกับจากรัฐต่างๆ โดยมีหลักการวางอยู่บนหลัก 3 ประการ คือ 1) การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (Protect) คือ รัฐมีหน้าที่ในการคุ้มครองไม่ให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากองค์กรของรัฐหรือบุคคลที่สาม ซึ่งหมายรวมถึงองค์กรภาคธุรกิจต่างๆด้วย 2) การเคารพสิทธิมนุษยชน (Respect) องค์กรและบุคคลโดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรภาคธุรกิจมีหน้าที่ในการเคารพสิทธิมนุษยชน 3) การเยียวยา (Remedy) เมื่อมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้น รัฐจะต้องจัดให้มีการเยียวยาที่เหมาะสม รวมทั้งยังเรียกร้องให้องค์กรภาคธุรกิจควรจัดให้มีช่องทางในการร้องเรียน และเยียวยาเมื่อมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นด้วยไม่ว่าโดยกิจการนั้นเอง หรือการรวมกลุ่มองค์กรภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องซึ่งได้รวมกันเป็นสมาคมธุรกิจ
จุดเริ่มต้นของนวัตกรรม ALLRIGHTS HRDD Application
การตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (HRDD) คืออะไร?
หลักการตรวจสอบและประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Due Diligence-HRDD) ได้รับการระบุไว้ในหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Guiding Principles on Business and Human Rights) หลักการชี้แนะเป็นกรอบสำหรับรัฐ เพื่อควบคุมให้ภาคเอกชนเคารพสิทธิมนุษยชนด้วยการจัดทำ ‘พิมพ์เขียว’ สำหรับบริษัทต่างๆ เพื่อเป็นมาตรฐานสากลในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และเสนอแนวทางในการจัดการความเสี่ยงในการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยได้รับการสนับสนุนจากภาคธุรกิจ และประชาสังคมเช่นเดียวกับจากรัฐต่างๆ โดยมีหลักการวางอยู่บนหลัก 3 ประการ คือ 1) การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (Protect) คือ รัฐมีหน้าที่ในการคุ้มครองไม่ให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากองค์กรของรัฐหรือบุคคลที่สาม ซึ่งหมายรวมถึงองค์กรภาคธุรกิจต่างๆด้วย 2) การเคารพสิทธิมนุษยชน (Respect) องค์กรและบุคคลโดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรภาคธุรกิจมีหน้าที่ในการเคารพสิทธิมนุษยชน 3) การเยียวยา (Remedy) เมื่อมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้น รัฐจะต้องจัดให้มีการเยียวยาที่เหมาะสม รวมทั้งยังเรียกร้องให้องค์กรภาคธุรกิจควรจัดให้มีช่องทางในการร้องเรียน และเยียวยาเมื่อมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นด้วยไม่ว่าโดยกิจการนั้นเอง หรือการรวมกลุ่มองค์กรภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องซึ่งได้รวมกันเป็นสมาคมธุรกิจ
จุดเริ่มต้นของนวัตกรรม ALLRIGHTS HRDD Application
การแก้ปัญหาด้วยนวัตกรรม ALLRIGHTS HRDD Application
หน้าตาของนวัตกรรม ALLRIGHTS HRDD Application ฝีมือเยาวชนไทย
WOW Factors ของนวัตกรรม ALLRIGHTS HRDD Application
เปรียบเทียบจำนวนขั้นตอนการทำ HRDD ก่อนและหลังใช้นวัตกรรม ALLRIGHTS HRDD Application
แผนการพัฒนานวัตกรรม ALLRIGHTS HRDD Application
เทปบันทึกการนำเสนอนวัตกรรม ALLRIGHTS HRDD Application
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น